วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตลาดเงินและตลาดทุน


ตลาดแรก
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทำหน้าที่กำกับและดูแลตลาดแรก โดยบริษัทใดที่ต้องการออกหลักทรัพย์ใหม่เสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก (Initial Public Offering) หรือเสนอขายหลักทรัพย์อื่นๆ แก่ประชาชน ต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) และดำเนินการตามเกณฑ์ที่กำหนด จากนั้นคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จะต้องตรวจสอบสถานะทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัทนั้นก่อนที่จะอนุมัติให้บริษัททำการออกหลักทรัพย์ขายแก่ประชาชนได้
ตลาดรอง
หลังจากการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก หลักทรัพย์จะสามารถทำการซื้อขายในตลาดรองได้ก็ต่อเมื่อผู้ออกหลักทรัพย์นั้นได้ยื่นคำขอและได้รับอนุมัติจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว


ตลาดเงิน
SET คืออะไร

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures Contract) เป็นอนุพันธ์ที่ค่อนข้างเรียบง่าย และมีการซื้อขายกันอย่างแพร่หลายในตลาดล่วงหน้าทั่วโลก โดยมูลค่าของ Futures นั้น จะมีค่าเท่ากับราคาของทรัพย์สินอ้างอิง ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต เราสามารถแบ่งสัญญา Futures ออกเป็นกลุ่มตามสินทรัพย์ที่ใช้อ้างอิง (Underlying) และในแต่ละกลุ่มยังสามารถแบ่งได้เป็น Series ตามวันหมดอายุของสัญญา (Maturity Date) ตัวอย่างเช่น Futures น้ำมัน NYMEX ส่งมอบเดือนมีนาคม 2551 เป็นต้น มูลค่าของสัญญา Futures มักจะเคลื่อนไหวคู่ขนานไปกับราคาที่ใช้ซื้อขายสินทรัพย์ในปัจจุบัน เนื่องจากนักลงทุนทั่วไปจะใช้ราคาในปัจจุบัน ประกอบกับการคาดการณ์แนวโน้มอุปสงค์-อุปทานของสินทรัพย์นั้นๆ เป็นพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ราคา
ในการซื้อขายสัญญา Futures ใน Series หนึ่งๆ จะต้องมีผู้เสนอราคาซื้อ (Long Side) และผู้เสนอราคาขาย (Short Side) หากผู้ซื้อและผู้ขายสามารถตกลงราคาที่สองฝ่ายพอใจก็จะเกิดสัญญา Futures ขึ้น ซึ่งตราบใด ที่ผู้ซื้อ และผู้ขาย ยังมีความต้องการที่จะซื้อขาย ปริมาณการเกิดของสัญญานั้นก็สามารถมีได้ไม่จำกัดจำนวน ผิดกับตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมีจำนวนหุ้นเท่ากับที่ได้จดทะเบียนไว้ ทั้งนี้ท่านผู้อ่านจะสามารถดูจำนวนสัญญา Futures ที่เปิดอยู่ในตลาดทั้งหมด ได้จากข้อมูล สถานะคงค้าง หรือ Open Interest (OI) ครับ
ผลตอบแทนที่เกิดจากการซื้อขายสัญญา Futures นั้น จะเกิดขึ้นเมื่อราคาของสัญญา Futures เปลี่ยนแปลงไปจากราคาที่นักลงทุนเข้ามาเปิดสัญญา โดยนักลงทุนที่เข้ามาถือสถานะซื้อล่วงหน้า (Long Position) จะมีผลตอบแทนเมื่อราคา Futures ปรับตัวสูงขึ้น ในทางกลับกันนักลงทุนที่เข้ามาถือสถานะขายล่วงหน้า (Short Position) จะแสวงหาผลตอบแทนจากราคา Futures ที่ปรับตัวลดลง
ในประเทศไทย มีตลาดซื้อขายสัญญา Futures หรือ ที่เรียกกันว่าตลาดล่วงหน้าอยู่สองตลาดด้วยกัน ได้แก่
1. ตลาดอนุพันธ์แห่งประเทศไทย (TFEX) เป็นศูนย์กลางในการซื้อขาย Futures ที่อิงมูลค่าจากตัวเลขดัชนี SET50 นักลงทุนจะสามารถเข้ามาใช้ SET50 Index Futures เป็นช่องทางทำกำไรได้ตลอดเวลาไม่ว่าตลาดหุ้นจะเคลื่อนไหวอยู่ในแนวบวกหรือแนวลบ หรือจะใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงแก่หลักทรัพย์ที่ตนเองถืออยู่ก็ได้
2. ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) เป็นศูนย์กลางในการซื้อขาย Futures ที่อ้างอิงมูลค่าจากราคาสินค้าเกษตรประเภทต่างๆ ได้แก่ ยางพารา ข้าว และมันสำปะหลัง ซึ่งนอกจากนักลงทุนจะเข้ามาแสวงหาผลกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าแล้ว การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้านสินค้าเกษตรในตลาด AFET ยังเป็นเพียงช่องทางเดียวที่นักลงทุนในประเทศจะสามารถลงทุนในสินทรัพย์ Commodities ได้ โดยไม่ต้องทำธุรกิจค้าขายในสินค้านั้นๆ ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจค้าขายสินค้าเกษตรก็สามารถเข้ามาใช้ Futures เป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้านั้นๆ ได้อีกด้วย
ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) นับเป็นทางเลือกใหม่สำหรับนักลงทุนที่สนใจจะลงทุนใน Commodities ซึ่งในสัปดาห์หน้าเราจะมาพูดคุยเพิ่มเติม เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจเกี่ยวกับตลาดนี้มากยิ่งขึ้น
          Secure Electronic Transaction (SET) เป็นระบบสำหรับทำให้มั่นใจ ถึงความปลอดภัยของ ทรานแซคชันทางการเงินบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งได้รับการสนับสนุนเริ่มต้นโดย MasterCard, Visa, Microsoft, Netscape และ อื่น ๆ ด้วย SET ผู้ใช้จะได้รับ electronic wallet และทรานแซคชันที่นำ และตรวจสอบโดยการใช้ส่วนประกอบของ digital certificate และ digital signature ในระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย และ ธนาคารของผู้ซื้อ ในวิธีที่ทำให้มั่นใจว่า มีความเป็นส่วนบุคคลและมั่นใจได้ SET ใช้ Netscape Secure Socket Layer (SSL), Microsoft Secure Transaction Technology (STT) และ Terisa System Secure Hypertext Transfer Protocol (S-HTTP) SET ใช้บางส่วน แต่ไม่ใช่รูปแบบทั้งหมดของ public key infrastructure

การทำงานของ SET
สมมุติให้ลูกค้ามี browser ที่ใช้ SET ได้ เช่น Netscape หรือ Microsoft Internet Explorer และ ผู้ให้ทรานแซคชัน (ธนาคาร , ร้านค้า) มี Set-enable server
          1. ลูกค้าเปิดบัญชี MasterCard หรือ Visa
          2. ลูกค้าได้รับ digital certificate ไฟล์อีเลคโทรนิคส์ทำงานเหมือนบัตรเครดิตสำหรับการซื้อสินค้า online หรือทรานแซคชันอื่น ซึ่งจะรวม key สาธารณะซึ่งมีวันหมดอายุ และมี digital switch โดยธนาคารรับประกันการใช้งาน
          3. ผู้ขายสินค้าฝ่ายที่ 3 จะได้รับ certificate จากธนาคาร certificate มี key สาธารณะของผู้ขายสินค้าและธนาคาร
          4. ลูกค้าวางใบสั่งซื้อผ่านเว็บเพจ
          5. browser ของลูกค้า ได้รับและการยืนยันจาก certificate ของผู้ขายสินค้าว่าถูกต้องตามกฎหมาย
          6. browser ส่งสารสนเทศของใบสั่งของ ข่าวสารนี้จะ encrypt ด้วย key สาธารณะของผู้ขาย รายละเอียดการชำระเงิน จะ encrypt ด้วย key สาธารณะของธนาคาร (ผู้ขายสินค้าไม่สามารถอ่านได้) และสารสนเทศที่ประกันการจ่าย สามารถใช้เฉพาะใบสั่งซื้อนี้
          7. ผู้ขายตรวจสอบลูกค้าโดยการตรวจสอบ digital signature บน customer's certificate อาจจะทำโดยการอ้างถึง certificate ไปที่ธนาคาร หรือฝ่ายที่ 3 (third-party) ตรวจสอบเอง
          8. ผู้ขายส่งข่าวสารของใบสั่งซื้อไปที่ธนาคาร รวมถึง key สาธารณะของธนาคาร สารสนเทศการชำระเงินของลูกค้า และ certificate ของผู้ขายสินค้า
          9. ธนาคารตรวจสอบผู้ขายและข่าวสาร ธนาคารใช้ digital signature บน certificate กับข่าวสารและตรวจสอบส่วนการชำระเงิน
          10. ธนาคาร digitally sign และส่งอำนาจให้กับผู้ขายสินค้า
ตลาดตราสารหนี้ (Bond Electronic Exchange : BEX)
จัดตั้งขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเปิดให้บริการการซื้อขายแก่นักลงทุนทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2546 โดยให้บริการผ่านระบบการซื้อขายแบบเรียลไทม์ เพื่อที่จะพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในด้านปริมาณการซื้อขาย คุณภาพของตราสารหนี้ ตัวกลางการซื้อขาย และแหล่งข้อมูลอ้างอิง โดยมีเป้าหมายในการดำเนินการตลาดรองตราสารหนี้ที่สมบูรณ์แบบของประเทศไทย ให้บริการครอบคลุมผู้ลงทุนและผู้ค้าตราสารหนี้ทั้งหมด
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures Contract) เป็นอนุพันธ์ที่ค่อนข้างเรียบง่าย และมีการซื้อขายกันอย่างแพร่หลายในตลาดล่วงหน้าทั่วโลก โดยมูลค่าของ Futures นั้น จะมีค่าเท่ากับราคาของทรัพย์สินอ้างอิง ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต เราสามารถแบ่งสัญญา Futures ออกเป็นกลุ่มตามสินทรัพย์ที่ใช้อ้างอิง (Underlying) และในแต่ละกลุ่มยังสามารถแบ่งได้เป็น Series ตามวันหมดอายุของสัญญา (Maturity Date) ตัวอย่างเช่น Futures น้ำมัน NYMEX ส่งมอบเดือนมีนาคม 2551 เป็นต้น มูลค่าของสัญญา Futures มักจะเคลื่อนไหวคู่ขนานไปกับราคาที่ใช้ซื้อขายสินทรัพย์ในปัจจุบัน เนื่องจากนักลงทุนทั่วไปจะใช้ราคาในปัจจุบัน ประกอบกับการคาดการณ์แนวโน้มอุปสงค์-อุปทานของสินทรัพย์นั้นๆ เป็นพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ราคา
ในการซื้อขายสัญญา Futures ใน Series หนึ่งๆ จะต้องมีผู้เสนอราคาซื้อ (Long Side) และผู้เสนอราคาขาย (Short Side) หากผู้ซื้อและผู้ขายสามารถตกลงราคาที่สองฝ่ายพอใจก็จะเกิดสัญญา Futures ขึ้น ซึ่งตราบใด ที่ผู้ซื้อ และผู้ขาย ยังมีความต้องการที่จะซื้อขาย ปริมาณการเกิดของสัญญานั้นก็สามารถมีได้ไม่จำกัดจำนวน ผิดกับตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมีจำนวนหุ้นเท่ากับที่ได้จดทะเบียนไว้ ทั้งนี้ท่านผู้อ่านจะสามารถดูจำนวนสัญญา Futures ที่เปิดอยู่ในตลาดทั้งหมด ได้จากข้อมูล สถานะคงค้าง หรือ Open Interest (OI) ครับ
ผลตอบแทนที่เกิดจากการซื้อขายสัญญา Futures นั้น จะเกิดขึ้นเมื่อราคาของสัญญา Futures เปลี่ยนแปลงไปจากราคาที่นักลงทุนเข้ามาเปิดสัญญา โดยนักลงทุนที่เข้ามาถือสถานะซื้อล่วงหน้า (Long Position) จะมีผลตอบแทนเมื่อราคา Futures ปรับตัวสูงขึ้น ในทางกลับกันนักลงทุนที่เข้ามาถือสถานะขายล่วงหน้า (Short Position) จะแสวงหาผลตอบแทนจากราคา Futures ที่ปรับตัวลดลง
ในประเทศไทย มีตลาดซื้อขายสัญญา Futures หรือ ที่เรียกกันว่าตลาดล่วงหน้าอยู่สองตลาดด้วยกัน ได้แก่
1. ตลาดอนุพันธ์แห่งประเทศไทย (TFEX) เป็นศูนย์กลางในการซื้อขาย Futures ที่อิงมูลค่าจากตัวเลขดัชนี SET50 นักลงทุนจะสามารถเข้ามาใช้ SET50 Index Futures เป็นช่องทางทำกำไรได้ตลอดเวลาไม่ว่าตลาดหุ้นจะเคลื่อนไหวอยู่ในแนวบวกหรือแนวลบ หรือจะใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงแก่หลักทรัพย์ที่ตนเองถืออยู่ก็ได้
2. ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) เป็นศูนย์กลางในการซื้อขาย Futures ที่อ้างอิงมูลค่าจากราคาสินค้าเกษตรประเภทต่างๆ ได้แก่ ยางพารา ข้าว และมันสำปะหลัง ซึ่งนอกจากนักลงทุนจะเข้ามาแสวงหาผลกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าแล้ว การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้านสินค้าเกษตรในตลาด AFET ยังเป็นเพียงช่องทางเดียวที่นักลงทุนในประเทศจะสามารถลงทุนในสินทรัพย์ Commodities ได้ โดยไม่ต้องทำธุรกิจค้าขายในสินค้านั้นๆ ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจค้าขายสินค้าเกษตรก็สามารถเข้ามาใช้ Futures เป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้านั้นๆ ได้อีกด้วย
ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) นับเป็นทางเลือกใหม่สำหรับนักลงทุนที่สนใจจะลงทุนใน Commodities ซึ่งในสัปดาห์หน้าเราจะมาพูดคุยเพิ่มเติม เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจเกี่ยวกับตลาดนี้มากยิ่งขึ้น


ตลาดทุน (CAPITAL MARKET)
ตลาดทุน คือ ตลาดการเงินที่เป็นแหล่งกลางที่เชื่อมโยงโดยตรงระหว่างผู้ออม ซึ่งต้องการ
นำเงินกู้ยืม หรือลงทุนระยะยาว และผู้ลงทุนซึ่งแสวงหาเงินทุนระยะยาวเพื่อนำไปใช้ในการก่อตั้ง
กิจการ หรือเพื่อขยายกิจการ
ลักษณะของตลาดทุนเป็นแหล่งเงินกู้ระยะยาว คือ มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
ความสำคัญของตลาดทุน
1. เป็นแหล่งระดมเงินทุน
2. เป็นแหล่งสะสมทุน
3. ธุรกิจสามารถระดมทุนได้อย่างรวดเร็ว มีจำนวนเพียงพอกับความต้องการ
4. เป็นแหล่งระดมเงินทุนที่เสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการกู้ยืมจากแหล่งอื่น
5. เป็นประโยชน์ต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น ทรัพยากรถูกใช้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ทำให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น เกิดการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น
สภาพเศรษฐกิจดีขึ้น และป้องกันมิให้เงินออมลดค่าลงอันเนื่องมาจากเงินเฟ้อ
ประเภทของตลาดทุนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
1. ตลาดแรกหรือตลาดหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
2. ตลาดรองหรือตลาดซื้อขายหลักทรัพย์
ตลาดแรกหรือตลาดหลักทรัพย์ออกใหม่ (PRIMARY MARKET OR NEW ISSUE
MARKET)
ตลาดแรกหรือตลาดหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ คือ แหล่งกลางที่มีการเสนอขาย หรือจำหน่าย
หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ครั้งแรกแก่ประชาชน หรือนิติบุคคลทั่วไป หลักทรัพย์ที่นำออกจำหน่าย
ได้แก่ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ หรือพันธบัตร ฯลฯ
วิธีการจำหน่ายหลักทรัพย์ออกใหม่ในตลาดแรก
ก. บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์จำหน่ายหลักทรัพย์นั้นเองโดยตรง เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย
เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมที่ต้องให้แก่สถาบันการเงิน

การประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์ (UNDERWRITER)
การประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์ของสถาบันการเงินสามารถกระทำได้ 2 วิธีดังนี้
1. FIRM UNDERWRITING คือ การรับประกันว่าบริษัทผู้จำหน่ายจะรับซื้อหลักทรัพย์เอง
ถ้าหากไม่สามารถจำหน่ายได้หมด
2. BEST EFFORT UNDERWRITING คือ การสัญญาว่าจะพยายามจำหน่ายหลักทรัพย์ให้
ได้มากที่สุด แต่ไม่รับประกันการขายให้ทั้งหมด กล่าวคือ ถ้าจำหน่ายไม่หมดสถาบันการเงินที่ทำ
หน้าที่เป็นผู้ประกันการจำหน่ายจะไม่รับซื้อหลักทรัพย์ในส่วนที่จำหน่ายไม่หมดนั้น บริษัทผู้ออก
หลักทรัพย์จะต้องรับหลักทรัพย์ที่เหลือนั้นกลับคืนไป
ตลาดรองหรือตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ (SECONDARY MARKET OR TRADING
MARKET)
ตลาดรองหรือตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ คือแหล่งกลางในการติดต่อซื้อขายหลักทรัพย์ที่เคย
ผ่านการซื้อขายในตลาดแรกมาแล้ว การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดรองเป็นเพียงการโอนเปลี่ยนมือ
ผู้ถือหุ้นเท่านั้น ตลาดรองไม่ได้ทำหน้าที่ระดมเงินทุนจากประชาชน แต่ทำหน้าที่สนับสนุนการ
ระดมเงินออมจากตลาดแรก และสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ที่ซื้อหลักทรัพย์ในตลาดแรกว่าเขา
สามารถขายหลักทรัพย์นั้นได้เมื่อต้องการเงินสด หรือเมื่อต้องการได้กำไรจากการขายหุ้น แม้ว่า
ตลาดรองจะไม่ได้มีลักษณะเป็นแหล่งเงินทุนโดยตรงของธุรกิจเช่นเดียวกับตลาดแรก แต่ก็มี
ความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะตลาดรองช่วยให้เงินทุนหมุนเวียนได้สะดวก และช่วยกระตุ้นให้ตลาด
แรกเจริญเติบโตขึ้นด้วย

LTF ย่อมาจาก Long Term Equity Fund หรือ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว เป็นกองทุนรวมแบบพิเศษที่ให้สิทธิผู้ลงทุนนำเงินลงทุนในแต่ละปีมาใช้ลดหย่อนภาษีได้
LTF มีที่มาจากแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ที่มีเป้าหมายเพิ่มจำนวนผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ เพราะเชื่อว่าหากต้องการให้ตลาดหุ้นของไทยมีเสถียรภาพมากขึ้นจำเป็นต้องมีสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบันในประเทศที่มีคุณภาพ (ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่ากองทุนรวม) มากกว่าปัจจุบัน จึงจะทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยไม่ผันผวนตามแรงซื้อขายของนักลงทุนต่างประเทศและนักลงทุนรายย่อยมากจนเกินไป และทำให้เกิดเสถียรภาพในระบบตลาดทุนไทยในที่สุด
ด้วยเหตุนี้มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2547 จึงกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมหุ้นระยะยาวขึ้น โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุนเพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนในกองทุน LTF
สิทธิประโยชน์ทางภาษีของผู้ลงทุน
เงินลงทุนใน LTF สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15%ของรายได้ในแต่ละปีแต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ซื้อปีไหนก็ใช้ลดหย่อนภาษีของปีนั้น ส่วนจะประหยัดภาษีได้เท่าไร ก็ขึ้นกับฐานภาษีของแต่ละคน ยิ่งฐานภาษีสูงมากก็ยิ่งประหยัดได้มาก
 ETF
 ETF เป็นกองทุนรวมเปิดที่จดทะเบียนซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนจึงสามารถซื้อขาย ETF ผ่านโบรกเกอร์ ณ ราคาตลาดระหว่างวันและกำหนดราคาที่ต้องการซื้อขายเหมือนการซื้อขายหุ้นทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์ โดยผู้ลงทุนสามารถติดตามข้อมูลราคาตลาดของ ETF ซึ่งมักมีค่าใกล้เคียงกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยของ ETF ณ ขณะนั้น หรือที่นิยมเรียกกันว่า Indicative NAV (i-NAV) หรือ Real-time NAV ซึ่งมีการคำนวณตลอดช่วงเวลาซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ ในขณะที่การซื้อขายกองทุนรวมทั่วไป ผู้ลงทุนต้องซื้อขายผ่าน บลจ. ผู้ออกเท่านั้น โดยซื้อขายที่ราคา ณ สิ้นวันเพียงราคาเดียว และค่า NAV ก็มีการคำนวณเพียงวันละครั้ง ณ สิ้นวันเช่นกัน นอกจากนี้ ETF ยังพิเศษกว่ากองทุนรวมทั่วไปตรงที่มีผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) ทำหน้าที่ดูแลราคาและสภาพคล่องของ ETF ในตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้นักลงทุนมั่นใจได้ว่าสามารถซื้อขาย ETF ได้ตลอดเวลาที่ต้องการ ณ ราคาตลาดในขณะนั้น
ETF ส่วนใหญ่มีนโยบายการบริหารจัดการการลงทุนในเชิงรับ (Passive Management) เพื่อให้ได้ผลตอบแทนเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับดัชนีหรือราคาของสินทรัพย์ที่กองทุนใช้อ้างอิง ไม่ได้เป็นการบริหารจัดการเพื่อเอาชนะตลาดเหมือนกองทุนรวมทั่วไปส่วนใหญ่ จึงทำให้ ETF มีค่าใช้จ่ายตลอดจนค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการที่ต่ำกว่ากองทุนรวมทั่วไป โดย ETF สามารถอ้างอิงได้กับสินทรัพย์หลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นดัชนีราคาหลักทรัพย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดัชนีราคาตราสารหนี้ หรือดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์ หรือราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ น้ำมัน เป็นต้น
ETF ได้รับความนิยมในตลาดต่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีสภาพคล่องจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และการลงทุนใน ETF ที่อ้างอิงในสินทรัพย์ที่เป็นดัชนีราคาหลักทรัพย์ก็เสมือนการลงทุนในหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของการคำนวณดัชนีทั้งหมด ทำให้ช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุน ขณะเดียวกันก็ยังให้ผลตอบแทนในรูปเงินปันผล ( Dividend) และส่วนต่างราคา ( Capital Gain) แก่ผู้ถือ ETF นั้น จากการรวมจุดเด่นของกองทุนรวมและหุ้นไว้ด้วยกันนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จึงผลักดัน   ETF  กองแรกให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ในปี 2550 โดยมีดัชนีราคาหุ้น SET50 เป็นสินทรัพย์อ้างอิงของ ETF
ประโยชน์ของ ETF ต่อผู้ลงทุน
กระจายการลงทุนโดยใช้เงินน้อย
การลงทุนใน ETF ทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนเหมือนกับการเข้าไปซื้อหลักทรัพย์หรือสินค้าทั้งหมดที่กองทุน ETF ไปลงทุนไว้ ผู้ลงทุนเพียงทำรายการซื้อหน่วยลงทุน ETF เท่านั้น ไม่ต้องทำรายการซื้อหลักทรัพย์หรือสินค้าทั้งหมดที่ต้องการลงทุน ซึ่งในกรณีหลังต้องใช้เงินมากกว่าและมีค่าใช้จ่ายโดยรวมสูงกว่าการซื้อหน่วยลงทุน ETF
ซื้อขายเปลี่ยนมือได้สะดวก
จุดเด่นสำคัญของกองทุน ETF ที่แตกต่างจากกองทุนเปิดโดยทั่วไป คือ ผู้ลงทุนทั่วไปสามารถซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งทำให้ผู้ลงทุนสามารถซื้อขายหน่วยลงทุนในราคาที่ต้องการ อาทิ ราคาของ ETF ที่อ้างอิงกับดัชนีราคาหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนสามารถคำนวณได้จากราคาของแต่ละหลักทรัพย์ที่ ETF ถือครองอยู่สำหรับระยะเวลาในการซื้อขาย ETF ก็เป็นช่วงเวลาเปิดทำการของตลาดหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนไม่จำเป็นต้องรอ NAV ต่อหน่วย ณ สิ้นวันเหมือนกับการซื้อขายกองทุนเปิดที่ไม่ใช่หลักทรัพย์จดทะเบียน
นอกจากนี้ บริษัทจัดการต้องจัดให้มีผู้ดูแลสภาพคล่องของ ETF ซึ่งจะทำหน้าที่เสนอซื้อเสนอขายหน่วยลงทุนของ ETF ในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้น จึงเป็นกลไกที่ช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถทำรายการซื้อขาย ETF ในตลาดหลักทรัพย์ได้เมื่อต้องการ
โปร่งใส
บริษัทจัดการจะเปิดเผยรายละเอียดของการถือครองสินทรัพย์ของ ETF เป็นประจำทุกวัน จึงช่วยให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลการลงทุนของ ETF อย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ลงทุนตรวจสอบการลงทุนว่าเป็นตามนโยบายที่กำหนดไว้หรือไม่แล้ว ยังใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดราคาซื้อขายหน่วยลงทุน ETF ได้
ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนใน ETF 
เนื่องจาก ETF จะลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนตามดัชนีอ้างอิง ดังนั้น การลงทุนใน ETF จึงมีความเสี่ยงในกรณีที่ราคาของสินทรัพย์ที่ ETF ไปลงทุนนั้นมีการเปลี่ยนแปลง แล้วส่งผลให้ ETF มีผลตอบแทนเปลี่ยนแปลงตามสินทรัพย์ที่อ้างอิง
ความเสี่ยงอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การที่ ETF อาจไม่สามารถให้ผลตอบแทนได้เท่ากับการเคลื่อนไหว ของดัชนีอ้างอิง หรือเรียกว่า มี Tracking Error ซึ่งเกิดขึ้นได้จากปัจจัยต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่ายของกองทุน สภาพคล่องในการซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิง เป็นต้น
ขั้นตอนการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์




วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ระบบสารสนเทศในองค์กร

ระบบสารสนเทศในองค์กร
บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์กร
                    องค์การ ตามความหมายทางเทคนิค หมายถึง โครงสร้างทางสังคมอย่างเป็นทางการที่มีความมั่นคง โดยรับเอาทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมมาผ่านกระบวนการเพื่อสร้างหรือผลิตผลลัพธ์ คำจำกัดความด้านเทคนิคนี้จะเน้นองค์ประกอบขององค์การ 3 ส่วนคือ       1. ปัจจัยหลักด้านการผลิต ได้แก่ เงินทุนและแรงงาน       2. การบวนการผลิต ซึ่งจะเปลี่ยนสิ่งที่นำเข้าให้เป็นผลิตภัณฑ์       3. ผลผลิต ได้แก่ สินค้าและบริการ
ผลกระทบของระบบสารสนเทศต่อองค์การ       ระบบสารสนเทศมีผลกระทบต่อกระบวนการทำงานและโครงสร้างขององค์การดังนี้       1. ลดระดับขั้นของการจัดการ       2. มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน       3. ลดขั้นตอนการดำเนินงาน       4. เปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการ       5. กำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่

องค์การดิจิทัลและองค์การแบบเครือข่าย       เทคโนโลยี อินเตอร์เน็ตสนับสนุนการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และเกิดขึ้นขององค์การแบบ เครือข่าย ช่วยให้จัดการแพร่กระจายข่าวสารไปยังบุคคลภายในและภายนอกได้ทันที องค์การสามารถใช้สารสนเทศนี้เพื่อปรับปรุงกระบวนทางธุรกิจภายในและภายนอก องค์การได้ เทคโนโลยีในการประสานและการเชื่อมโยงสามารถนำมาใช้ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง  ขยายขอบเขตการทำงานและควบคุมการปฏิบัติงาน  รวมทั้งการนำเสนอสินค้าและบริการ  ซึ่งหากมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งานเกือบทุกส่งนขององค์การและเป็นองค์ประกอบหลักในการดำเนินธุรกิจ  รวมถึงการบริหารจัดการจะทำให้องค์การเข้าสู่ลักษณะขององค์การดิจิทัล
องค์การเสมือนจริง (Virtual Organization)       เป็นรูปแบบขององค์การแบบใหม่  ซึ่งเป็นเครือข่ายขององค์การที่เชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแลกเปลี่ยนทักษะ  ลดต้นทุน  สร้างและกระจายสินค้าและบริการ  โดยไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับสถานที่ตั้งขององค์การ       ลักษณะขององค์กรเสมือนจริงมีดังนี้       1. มีขอบเขตขององค์การไม่ชัดเจน  : เนื่องจากอาจกระจายอยู่ต่างสถานที่กัน  ทำให้ยากต่อการนกำหนดขอบเขตที่แน่ชัดขององค์การ       2. ใช้เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม        3. มีความเป็นเลิศ : องค์การอิสระแต่ละองค์การจะนำความสามารถหลักหรือความเป็นเลิศมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการตลาด       4. มีความไว้วางใจ       5. มีโอกาสทางตลาด : องค์การอิสระต่างๆ อาจรวมกันเป็นองค์การเสมือนจริงในลักษณะถาวรหรือชั่วคราว  เนื่องจากเห็นว่ามีโอกาสทางการตลาด  และสลายตัวเมื่อโครงการจบ              

ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
       1. ผู้ปฏิบัติงาน (Worker) เป็นบุคลากรที่ดำเนินงานด้านการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรฝ่ายต่างๆ เป็นผู้ทำกิจกรรมประจำวันตลอดจนจัดทำฐานข้อมูลและรายงานขององค์การ       2. ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operational Manager) หรือเรียกทั่วไปว่า  หัวหน้างาน(Supervisors)  ผู้บริหารระดับนี้จะทำหน้าที่ควบคุมและดูแลการดำเนินงานประจำวันของบุคลากรระดับปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ       3. ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Manager) เป็นผู้ที่กำกับการบริหารงานของผู้บริหารระดับปฏิบัติการ รวมทั้งวางแผนยุทธวิธีเพื่อให้การดำเนินงานขององค์การบรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้ยังต้องทำหน้าที่ประสานงานกับผู้บริหารระดับสูงเพื่อรับนโยบาย  แล้วนำมาวางแผนการปฏิบัติงาน       4. ผู้บริหารระดับสูง (Senior Manager) หรือเรียกทั่วไปว่า  Executive Managers เป็นผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์การ  เป็นผู้ที่รับผิดชอบด้านการวางแผนกลยุทธ์(Strategic  Planing)  ในการกำหนดเป้าหมาย  และวัตถุประสงค์ขององค์การ  ตลอดจนดูแลองค์การในภาพรวม
ประเภทของระบบสารสนเทศ (Types of Information Systems)       เมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ  ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้  หรือที่เรียกว่า ระบบสารสนเทศอิงคอมพิวเตอร์ (Computer-Based Information Systems  หรือ CBIS)       ระบบสารสนเทศสามารถจัดแบ่งประเภทได้หลายวิธี ประเภทของระบบสารสนเทศที่สำคัญ 3 ประเภท ดังนี้       1. ระบบสารสนเทศจำแนกตามประเภทของธุรกิจ : โดยจะต้องออกแบบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับลักษณะงานขององค์การเหล่านั้น ระบบสารสนเทศที่จำแนกตามประเภทของธุรกิจ โดยทั่วไปจะเป็นระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยระบบสารสนเทศที่จำแนกตามหน้าที่ย่อยๆ หลายระบบ       2. ระบบสารสนเทศจำแนกตามหน้าที่ของงาน : จะเป็นระบบที่จำแนกตามลักษณะหรือหน้าที่ของงานหลัก ซึ่งแต่ละระบบสามารถประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อยๆ ที่เป็นกิจกรรมของงานหลัก       3. ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน : จะถูกออกแบบให้มีความสอดคล้องกับลักษณะงานและระดับของผู้ใช้งานเพื่อให้สอดคล้องกับการนำสารสนเทศไปใช้ประกอบการบริหารและตัดสินใจ      
       โดยทั่วไประบบสารสนเทศที่อิงคอมพิวเตอร์ (Computer-Based Information Systems) แบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังนี้       1. ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing Systems: TPS) เป็น ระบบสารสนเทศประเภทแรกที่นิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อการประมวลผลที่รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย และปรับปรุงการให้บริการลูกค้า ระบบสารสนเทศแบบประมวลผลธุรกรรมทำหน้าที่รวบรวม บันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูล(File)  หรือฐานข้อมูล(Database)  และประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรมและการปฏิบัติงานประจำ (Routine) ขององค์การเพื่อนำไปจัดทำระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นๆ       โดยปกติ  พนักงานระดับปฏิบัติงานจะเป็นผู้จัดทำระบบสารสนเทศประเภทนี้  แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี  ในปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาระบบการประมวลผลธุรกรรมที่ลูกค้าสามารถป้อนข้อมูลและประมวลผลรายการด้วยตนเองได้  เรียกระบบสารสนเทศลักษณะนี้ว่า Customer Integrated Systems หรือ CIS  เช่น ระบบฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ       ลักษณะการประมวลผลข้อมูลของ TPS แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ                           1.1 การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing) เป็นการประมวลผลที่ข้อมูลจะถูกรวบรวมและสะสมไว้ระหว่างช่วงเวลาที่กำหนด แล้วจึงจะประมวลผลรวมกันเป็นครั้งเดียว  การออกแบบลักษณะการประมวลผลแบบกลุ่มก็เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย  และให้เกิดความเหมาะสมกับลักษณะของงาน
ตัวอย่างการประมวลผลข้อมูลแบบกลุ่ม
 1.2 การประมวลผลแบบทันที (Real-Time Processing) เป็นการประมวลผลแต่ละรายการและให้ผลลัพธ์ทันทีเมื่อมีการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ การประมวลผลแบบทันทีถ้าเป็นการประมวลผลรายการแบบออนไลน์จะเรียกว่า Online Transaction Processing หรือ OLTP  เช่น  การจองตั๋วเครื่องบิน
ตัวอย่างการประมวลผลแบบข้อมูลแบบทันที

 2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS)เป็นระบบสารสนเทศที่โดยปกติแล้วจะประมวลผลและสรุปผลจากแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลที่ได้จาก TPS เพื่อจัดทำสารสนเทศตามความต้องการของผู้บริหารสำหรับนำไปใช้ในการวางแผน ควบคุม  กำกับดูแล  สั่งการ  และประกอบการตัดสินใจ  โดยสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้              2.1 รายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด (Periodic Reports) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจเป็นรายงานที่จัดทำขึ้นทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน หรือทุกๆ ปี              2.2 รายงานสรุป (Summarized Reports) เป็นรายงานที่จัดทำเพื่อสรุปการดำเนินงานโดยภาพรวม  โดยปกติจะแสดงผลในรูปของตารางสรุปจำนวนและกราฟเปรียบเทียบ              2.3 รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขเฉพาะ (Exception Reports) เป็น รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขพิเศษไม่อยู่ในเกณฑ์การจัดทำรายงานตามปกติ  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารได้ใช้สารสนเทศสำหรับการตัดสินใจอย่างทันเวลา              2.4 รายงานที่จัดทำตามความต้องการ (Demand Reports) เป็นรายงานที่มีลักษณะตรงข้ามกับรายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งรายงานจะกระทำตามเวลาอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่ Demand Reports จะจัดทำเมื่อผู้บริหารมีความต้องการในรายงานนั้นๆ เท่านั้น
       3.  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการตัดสินใจ และจะช่วยสนับสนุนการแก้ปัญหาและตัดสินใจเฉพาะกรณีตามที่ผู้บริหารต้องการ เป็นการเน้นการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ        ลักษณะสำคัญของ DSS คือ จะต้องเป็นระบบที่ให้สารสนเทศอย่างรวดเร็วต่อการตัดสินใจ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและกำหนดกลยุทธ์ ดังนั้น DSS จึงควรออกแบบในลักษณะที่โต้ตอบกับผู้ใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล ซึ่งผู้บริหารมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการกำหนดรูปแบบการพัฒนา DSS       ปัจจุบันได้มีการใช้เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางออนไลน์จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่ได้มาจากการรวบรวมข้อมูลอดีตและปัจจุบันของ  TPS และข้อมูลภายนอกองค์การ  เรียกว่า  Online Analytical Processing หรือ  OLAP  สำหรับให้ผู้บริหารได้เรียกดูข้อมูลจากคลังข้อมูล (Data Warehouse)  ในหลายๆมุมมองที่แตกต่างกัน

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS)

  โดยทั่วไป  การตัดสินใจในการดำเนินงานขององค์การมักจะเป็นการตัดสินใจของกลุ่มผู้บริหาร  ดัง นั้นปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาของกลุ่ม เรียกระบบนี้ว่า ระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจกลุ่ม (Group Decision Support System: GDSS)       GDSS เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเสนอและแลกเปลี่ยนความคิด เห็น ระดมความคิด วิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาเพื่อหาแนวทางหรือรูปแบบในการตัดสินใจร่วมกันของ กลุ่ม  และปัจจุบันสามารถใช้สนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่มสมาชิกที่อยู่คนละสถานที่กันได้ด้วย       นอกจาก GDSS แล้ว  ยังมีระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจระบบอื่นๆ อีก  เช่น  ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์(Geographic Information Systems : GIS)  ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งของสถานที่และเส้นทางการเดินทาง
       4. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems: EIS หรือ Executive Support Systems: ESS) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม และการวางแผนกลยุทธ์  ผู้บริหารสามารถเข้าถึงสารสนเทศโดยกำหนดมุมมองได้ในรูปแบบต่างๆ  จึงเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง  และรวดเร็วต่อความต้องการ  ใช้งานได้ง่าย       EIS  สามารถเข้าถึงสามาสนเทศจากฐานข้อมูลภายในและภายนอกองค์การและจะนำเสนอสารสนเทศที่ได้จากการวิเคราะห์ในรูปของรายงาน  ตาราง  และกราฟ  เพื่อการสรุปสารสนเทศให้ผู้บริหารได้เข้าใจง่ายและประหยัดเวลา
       5. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems: ES) ปัญญาประดิษฐ์เป็นความพยายามที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ (ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์) ให้สามารถปฏิบัติงานเหมือนกับมนุษย์หรือเลียนแบบ การทำงานของมนุษย์  AI มีหลายสาขา เช่น การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing), ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์(Robotics), ระบบการมองเห็น (Vision Systerms), ระบบการเรียนรู้(Learning Systems), เครือข่ายเส้นประสาท(Neural Networks) และระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert Systems)       ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) หรือระบบฐานความรู้ (Knowledge-based System) เป็นระบบที่รวบรวมและจัดเก็บความรู้และประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยในการหาข้อสรุปและคำแนะนำให้กับผู้ใช้
  ES จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนประกอบหลัก ได้แก่
              (1) ส่วนติดต่อกับผู้ใช้หรือบทสนทนา เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสื่อสารกับผู้ใช้
              (2) ฐานความรู้ (Knowledge-based) เป็นกลุ่มของข้อเท็จจริงหรือความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงที่เป็นความรู้หรือความเชี่ยวชาญในระบบนั้นๆ
              (3) กลไกอนุมาน หรือ Inference Engine เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ใช้สำหรับค้นหาสารสนเทศจากฐานความรู้ เพื่อให้คำตอบ การทำนายและคำแนะนำตามแนวทางที่ผู้เชี่ยวชาญกระทำ
 การทำงานของระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES)

 6. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems: OIS) หรือระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems: OAS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร  แบ่งได้เป็น 5 ประเภท  คือ  ระบบจัดการเอกสาร  ระบบการจัดการข่าวสาร  ระบบการทำงานร่วมกัน /ประชุมทางไกล  ระบบการประมวลภาพ  และระบบการจัดการสำนักงาน

ความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศแบบต่างๆ
       ความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศแบบต่างๆ ในองค์การ  โดยปกติแล้ว  TPS จะเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานให้กับระบบสารสนเทศอื่นๆ ในขณะที่ EIS จะเป็นระบบที่รับข้อมูลจากระบบสารสนเทศในระดับที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ ในระบบสารสนเทศแต่ละประเภทอาจมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในระบบย่อยๆ กันเอง เช่น ระบบสารสนเทศฝ่ายขายกับระบบสารสนเทศฝ่ายผลิต และระบบสารสนเทศฝ่ายจัดส่งสินค้า เป็นต้น
ความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศแบบต่างๆ 







วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บทบาทของระบบสารสนเทศที่มีต่อการจัดการด้านการเงิน




 ระบบการเงิน (financial system) เปรียบเสมือนระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกายที่สูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของอวัยวะแต่ละส่วนเป็นปกติ ถ้าระบบหมุนเวียนโลหิตไม่ดี การทำงานของอวัยวะก็บกพร่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบร่างกาย ระบบการเงินจะเกี่ยวกับสภาพคล่อง (liquidity) ในการดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสดหมุนเวียน ถ้าธุรกิจขาดเงินทุน อาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งโดยตรงและทางอ้อม โดยที่การจัดการทางการเงินจะมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ดังต่อไปนี้
1. การพยากรณ์ (forecast) การศึกษา วิเคราะห์ การคาดกราณ์ การกำหนดทางเลือก และการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ เพื่อใช้ทรัพยากรทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนักการเงินสามารถใช้หลักการทางสถิติและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ การพยากรณ์ทางการเงิน จะอาศัยข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนประสบกราณ์ของผู้บริหารในการตัดสินใจ
2. การจัดการด้านการเงิน (financial management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับและรายจ่าย การหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เพื่อที่จะเพิ่มทุนขององค์การ โดยวิธีการทางการเงิน เช่น การกู้ยืม การออกหุ้นหรือตราสารทางการเงินอื่น เป็นต้น
3. การควบคุมทางการเงิน (financial control) เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินตวามเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ ตลอดจนวางแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงให้การดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจมีประสิทธิภาพ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมการทางการเงินของธุรกิจสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้
  • การควบคุมภายใน (internal control)
  • การควบคุมภายนอก (external control)
        ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (finalncial information system) เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสำหรับสนับสนุนกิจกรรมทางด้านการเงินขององค์การ ตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมทางด้านการเงิน เพื่อให้การจัดการทางการเงินเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยที่แหล่งข้อมูลสำคัญในการบริหารเงินขององค์การมีดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลจากการดำเนินงาน (operatins data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานของธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการควบคุม ตรวจสอบ และปรับปรุงแผนการเงินขององค์การ
2. ข้อมูลจากการพยากรณ์ (forecasting data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมและประมวลผล เช่น การประมาณค่าใช้จ่ายและยอดขายที่ได้รับจากแผนการตลาด โดยใช้เทคนิคและแบบจำลองการพยากรณ์ โดยที่ข้อมูลจากการพยากรณ์ถูกใช้ประกอบการวางแผน การศึกษาความเป็นไปได้ และการตัดสินใจลงทุน
3. กลยุทธ์องค์การ (corporate strategy) เป็นเครื่องกำหนดและแสดงวิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ แนวทางการประกอบธุรกิจในอนาคต เพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยที่กลยุทธ์จะเป็นแผนหลักที่แผนปฏิบัติการอื่นต้องถูกจัดให้สอดคล้องและส่งเสิรมความสำเร็จของกลยุทธ์
4. ข้อมูลจากภายนอก (external data) ข้อมูลทางเศรษฐกิจและการเงิน สังคม การเมือง และปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อธุรกิจ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น โดยข้อมูลจากภายนอกจะแสดงแนวโน้มในอนาคตที่ธุรกิจต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานกราณ์
        ระบบสารสนเทศด้านการบัญชีและระบบสารสนเทศด้านการเงินจะมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากข้อมูลทางการบัญชีจะเป็นข้อมูลสำหรับการประมวลผลและการตัดสินใจทางการเงิน โดยนักการเงินจะนำตัวเลจทางการบัญชีมาประมวลผลตามที่ตนต้องการ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจทางการเงิน


ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Financial Information Systems)


ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Financial Information Systems)1) การเงินของบริษัท 2) การจัดสรรและควบคุมแหล่งการเงินภายในบริษัท ประเภทของระบบ
สารสนเทศทางการเงินที่สำคัญที่รวมการจัดการเงินสดและการลงทุน การทำงบประมาณการเงิน
การคาดการณ์ทางการเงิน และการวางแผนทางการเงิน ตามรูปที่ 1
การจัดการเงินสด (Cash Management)ระบบการจัดการด้านเงินสด รวบรวมสารสนเทศจากใบเสร็จรับเงินและการจ่ายเงินเวลาตามจริง
(Realtime) หรือเป็นระยะเวลาสม่ำเสมอ ข้อมูลเหล่านั้นทำให้ธุรกิจสามารถนำเข้าหรือขยายเงินทุน
ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น การเพิ่มรายได้เกิดขึ้นจากเงินทุนที่นำเข้าหรือใช้ในการลงทุน ระบบนี้ยังช่วย
คาดการณ์เรื่องการรับเงินสดหรือเงินที่ต้องจ่ายในอนาคตหรือ การคาดการณ์การไหลเวียนด้านการเงิน
(Cash Flow Forecasts) เพื่อตรวจตราการขาดดุลเงินสดหรือการมีรายรับมากกว่ารายจ่าย
สามารถใช้เพื่อหาข้อสรุปในเรื่องโปรแกรมการสะสมเงินสดให้ดีที่สุดและหาทาง เลือกด้านการ
จัดการการเงินหรือกลยุทธ์ในการลงทุน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการขาดดุลเงินสดหรือการมีรายรับมากกว่า
รายจ่ายในอนาคต

รูปที่ 1 ตัวอย่างของความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศด้านการเงิน


การจัดการการลงทุนออนไลน์ (Online Investment Management)หลายธุรกิจลงทุนเพื่อเพิ่มเงินสดระยะสั้นในตลาดที่ความเสี่ยงสูง เช่น พันธบัตรของรัฐบาล การลงทุนในบริษัทที่มีความเสี่ยงสูงแต่ให้ผลตอบแทนสูงด้วย หรือในทางเลือกอื่นที่จะทำให้ได้รับผลตอบแทนสูงเช่นกัน ซึ่งในการลงทุนเพื่อได้รับเป็นเงินตอบแทนที่ปลอดภัย สามารถจัดการได้ด้วยความช่วยเหลือจากโปรแกรมสำเร็จรูปที่จัดการด้านนี้ ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนและความปลอดภัยทางการค้าสามารถหาได้จากแหล่งออ นไลน์บนอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายอื่นๆ
งบประมาณเงินลงทุน (Capital Budgeting )ในกระบวนการเรื่องงบประมาณเงินลงทุน เกี่ยวข้องกับการประเมินความเป็นไปได้ในการทำผลกำไรและผลกระทบจากการใช้จ่าย เงินทุนที่ได้วางแผนไว้ ค่าใช้จ่ายระยะยาวสำหรับเครื่องจักรกลขนาดใหญ่และเครื่องมือต่างๆสามารถ วิเคราะห์โดยการใช้เทคนิคมากมาย ระบบงานนี้ทำให้เกิดการใช้รูปแบบตารางทำการ (Spreadsheet) ซึ่งวิเคราะห์มูลค่าในปัจจุบันของการไหลเวียนเงินสด และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการเสี่ยงในเรื่องการให้ผลดีที่สุดของเงินทุน โครงการสำหรับธุรกิจ
การคาดการณ์และการวางแผนด้านการเงิน (Financial Forecasting and Planning)การวิเคราะห์ด้านการเงินโดยปกติแล้ว จะใช้ตารางทำการและซอฟต์แวร์การวางแผนด้านการเงิน (Financial Planning Software) เพื่อประเมินสภาพปัจจุบันและผลการทำงานด้านการเงินของโครงการของธุรกิจ ช่วยในการหาข้อสรุปทางด้านความต้องการด้านการเงินของธุรกิจและวิเคราะห์วิธี การอื่นๆ ทางด้านการเงินอีกด้วย การวิเคราะห์การคาดการณ์ด้านการเงินที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางด้าน เศรษฐกิจ การดำเนินงานของธุรกิจ ประเภทของการเงินที่ได้รับ อัตราดอกเบี้ย ตลาดหุ้น และราคาพันธบัตร ช่วยพัฒนาการวางแผนและจัดการแบบจำลองทางด้านการเงินสำหรับธุรกิจ เช่น Electronic Spreadsheet Package, DSS และ Web-based Groupware
ระบบการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง (Transaction Processing System - TPS)การประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง (Transaction Processing)ระบบการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง เป็นระบบสารสนเทศ ซึ่งประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากการเกิดขึ้นของการทำรายการเปลี่ยนแปลง รายการเปลี่ยนแปลง (Transaction) เป็นเหตุการณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจ เช่น การขาย การจัดซื้อ การฝากเงิน การถอนเงิน การคืนเงิน และการจ่ายเงิน ลองคิดตามตัวอย่างของการสร้างข้อมูลขึ้นมาเมื่อมีการขายสินค้าให้กับลูกค้า ด้วยการใช้เครดิต ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า สินค้า พนักงานขาย ร้านค้า และอื่นๆ ที่ต้องเก็บไว้และทำการประมวลผล แล้วยังมีรายการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ อีกที่เกิดขึ้นตามมา อาทิเช่น การตรวจสอบเครดิต การออกใบแจ้งหนี้เพื่อเก็บเงินจากลูกค้า การเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงคลัง และการเพิ่มของยอดรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ ดังนั้นงานด้านการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงได้มีบทบาทที่สำคัญในการสนับ สนุนการดำเนินงานขององค์กร
กลยุทธ์เครือข่ายระบบการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง (Strategic TPS Networks)ระบบการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง สามารถแสดงบทบาทในด้านกลยุทธ์ในการช่วยให้ได้รับข้อได้เปรียบในการแข่งขัน สำหรับธุรกิจ เช่น หลายๆ หน่วยงานกำลังใช้อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเครือข่ายอื่นๆ เพื่อทำให้พวกเขาสามารถติดต่อกับลูกค้าหรือบริษัทผู้จัดหาสินค้า หรือเพื่อการประมวลผลทางรายการเปลี่ยนแปลงผ่านระบบออนไลน์ (Online Transaction Processing - OLTP) ระบบนี้ซึ่งสามารถจัดการและประมวลรายการเปลี่ยนแปลงได้ทันทีทันใด สามารถช่วยให้หน่วยงานเหล่านั้นให้บริการที่ดีกว่าแก่ลูกค้าและหุ้นส่วนทาง ธุรกิจ ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นนี้เองได้เพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ อันเป็นแนวทางที่สำคัญในการทำให้พวกเขามีความแตกต่างไปจากคู่แข่งขัน
วงจรการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง (Transaction Processing Cycle)ระบบการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง เก็บและประมวลผลข้อมูลตามที่ได้จากการทำรายการเปลี่ยนแปลง จากนั้นจะทำการปรับปรุงแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูลของหน่วยงานให้เป็นปัจจุบัน และจัดทำสารสนเทศในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อการใช้ภายในและภายนอกหน่วยงาน รูปที่ 2 ได้แสดงให้เห็นภาพของวงจรการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีด้วยกัน 5 ขั้นตอนคือ 1) กระบวนการรับข้อมูลเข้า 2) งานประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง 3) งานด้านประมวลผลแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล 4) การจัดทำเอกสารและรายงาน 5) งานประมวลผลตามที่ได้รับการขอมา

รูปที่ 2 วงจรการประมวลผลงานรายการเปลี่ยนแปลงของระบบงานประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง


กระบวนการนำเข้าข้อมูลเข้า (Data Entry Process)งานรับข้อมูลเข้าในระบบการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงนั้น เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการนำเข้าข้อมูล (Data Entry) ข้อมูลได้มาหรือถูกเก็บ ด้วยการบันทึก การให้รหัส และแก้ไข ข้อมูลอาจจะต้องมีการแปลงไปอยู่ในรูปแบบที่สามารถใส่เข้าไปในระบบ คอมพิวเตอร์ได้ งานการรับข้อมูลเข้านี้ มักจะทำให้เกิดการคับคั่งของใช้คอมพิวเตอร์สำหรับประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นวิธีการแบบมือสมัยก่อนจึงต้องใช้สื่อในการรับข้อมูลเข้าจำนวนมาก ซึ่งได้ถูกแทนที่ด้วยวิธีการใช้ระบบอัตโนมัติโดยตรง ซึ่งมีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือกว่า รู้จักกันในชื่อ การรับข้อมูลเข้าจากแหล่งอัตโนมัติ (Source Data Automation) ดูวิธีการนำข้อมูลเข้าทั้งสองแบบนี้ดังนี้
1. การนำเข้าข้อมูลแบบดั้งเดิม (Traditional Data Entry)วิธีการนำเข้าข้อมูลแบบเดิมนั้นโดยปกติขึ้นอยู่กับระบบสารสนเทศ ผู้ใช้หาข้อมูลบนแหล่งที่เป็นเอกสาร (Source Documents) เช่น ใบสั่งซื้อ ใบจ่ายเงินเดือน และแบบฟอร์มการขายสินค้า เอกสารเหล่านี้โดยปกติแล้วจะป้อนลงไปในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะสะสมเป็นจำนวนมากและเป็นระยะเวลาที่ต่อเนื่อง พนักงานหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการใส่ข้อมูลจะใส่ข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์ของสถานี งานป้อนข้อมูล หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของเครือข่าย งานแบบเดิมนี้ต้องใช้งาน คน และสื่อข้อมูลจำนวนมาก ผลที่ได้รับนอกจากจะมีค่าใช้จ่ายสูงแล้ว ยังมีข้อผิดพลาดสูงอีกด้วย ดังนั้น จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงมาสู่การนำเข้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอัตโนมัติ
2. การนำเข้าข้อมูลจากแหล่งอัตโนมัติ (Source Data Automation)การใช้วิธีการอัตโนมัติในการนำข้อมูลเข้า หรือการนำเข้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอัตโนมัติ มีกระบวนการรับข้อมูลเข้าเป็นอัตโนมัติ เพื่อลดข้อจำกัดในเรื่องปริมาณงาน บุคลากร และสื่อข้อมูลที่ต้องใช้ในการนำเข้าข้อมูลแบบเดิม รูปที่ 3 เป็นตัวอย่างของการนำเข้าจากแหล่งข้อมูลอัตโนมัติของระบบการประมวลผลรายการ เปลี่ยนแปลงของงานขาย ซึ่งควรกระทำดังนี้
  • จัดเก็บข้อมูลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้หลังจากการทำรายการเปลี่ยนแปลง หรือ หลังจากเหตุการณ์ขายเกิดขึ้นโดยการใช้สถานีงาน (Terminal) ณ จุดขาย (POS)
  • จัดเก็บข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลงให้ใกล้ชิดที่สุดกับแหล่งที่เกิดข้อมูล พนักงานขายที่สถานีงาน จัดเก็บและแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้อง ณ จุดขาย
  • จัดเก็บข้อมูลโดยการใช้สื่อที่อ่านได้โดยเครื่องจักรกลโดยตรง เช่น ป้ายบาร์โค๊ด แถบแม่เหล็ก แถบแม่เหล็กหลังบัตรเครดิต
  • จัดเก็บข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงไม่บ่อยนักโดยการใส่ไว้ในสื่อที่อ่านได้โดยเครื่องจักรกล หรือ เก็บไว้ล่วงหน้าในระบบคอมพิวเตอร์
  • เก็บข้อมูลโดยตรงโดยปราศจากการใช้สื่อข้อมูล เช่น การใช้เครื่องอ่านรหัสบาร์โค๊ดบนสินค้า
ตัวอย่างที่แสดงในรูปที่ 3 ทำให้ทราบว่ามีหลายอุปกรณ์ที่สามารถใช้เป็นแหล่งข้อมูลอัตโนมัติ เช่น POS, ATM และ เครื่องอ่านเลขเช็คจ่ายเงิน (Optical Character Recognition : OCR) อุปกรณ์อาทิ เช่น Optical Scanning Wand, Grocery Checkout Scanner ( เครื่องอ่านรหัสสินค้าจากบาร์โค๊ดที่ใช้ในห้างสรรพสินค้า) อุปกรณ์นำเข้าและแสดงผลข้อมูลและเครือข่ายเทคโนโลยี ในการนำเข้าข้อมูลอัตโนมัติ รวมถึงการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์กับลิ้นชัก เก็บเงิน (Cash Drawer) ในฐานะที่เป็นสถานีงาน ณ จุดขาย หรือระบบจอภาพสัมผัส (Touch Screen) ระบบจดจำเสียง (Voice Recognition Systems)

รูปที่ 3 ตัวอย่างการนำเข้าข้อมูลอัตโนมัติของการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงด้านการขาย

การประมวลผลแบบชุด (Batch Processing)ระบบการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงได้ประมวลผลข้อมูลด้วย 2 วิธีการพื้นฐานก็คือ 1) การประมวลผลแบบชุด หมายถึง ข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลงจะถูกสะสมกันในช่วงเวลาหนึ่ง และจะนำไปประมวลตามระยะเวลาที่สม่ำเสมอ เช่น 1 วันหรือ 1 สัปดาห์ เป็นต้น 2) การประมวลผลตามเวลาจริงหรือ ณ เวลาปัจจุบัน เรียกได้อีกอย่างว่า การประมวลผลออนไลน์ ซึ่งข้อมูลจะถูกนำไปประมวลผลทันทีหลังจากการเกิดรายการเปลี่ยนแปลง
ในเรื่องการประมวลผลแบบชุดนั้น ข้อมูลของรายการเปลี่ยนแปลงจะถูกรวบรวมในระยะเวลาหนึ่งและประมวลผลเป็นระยะ สม่ำเสมอ การประมวลผลแบบชุดโดยปกติแล้ว มักเกี่ยวข้องกับ
  • การเก็บเอกสารจากแหล่งที่เกิดการทำรายการเปลี่ยนแปลงโดยตรง เช่น ใบสั่งซื้อ ใบเสนอราคา รวมกันเป็นชุดหรือกลุ่ม เรียกว่า แบท (Batches)
  • การบันทึกข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลงบนสื่อประเภทเดียวกัน เช่น จานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก
  • การจัดเรียงรายการเปลี่ยนแปลงบนแฟ้มข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลงในลำดับแบบเดียวกันกับที่ทำในแฟ้มข้อมูลหลัก
  • การประมวลผลข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลงและการสร้างแฟ้มข้อมูลหลักให้ข้อมูลเป็น ปัจจุบัน และเอกสารหลายประเภท เช่น ใบเสนอราคาของลูกค้า และการจ่ายเงินด้วยเช็ค
การจัดเก็บและเก็บรักษาชุดของข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลงที่สาขาที่ห่างไกล และส่งข้อมูลกลับมาที่คอมพิวเตอร์ส่วนกลาง เพื่อทำการประมวลผลอย่างสม่ำเสมอ เราเรียกงานนี้ว่า การนำเข้างานระยะไกล ( Remote Job Entry : RJE)

รูปที่ 4 ตัวอย่างของระบบการประมวลผลแบบชุด: ชุดของการนำเช็คเข้าฝากได้ถูกรวบรวมและประมวลผลเป็นรายวันในธุรกิจธนาคาร

ข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบ (Advantages and Disadvantages)การประมวลผลแบบชุดนั้น เป็นวิธีที่ดีทางด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งทำการประมวลผลเมื่อมีจำนวนข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลงจำนวนมากๆ จึงเป็นเรื่องที่เหมาะสมสำหรับหลายๆระบบงานที่ไม่จำเป็นจะต้องปรับปรุงฐาน ข้อมูลให้เป็นปัจจุบันในทันที หรือการออกเอกสารและรายงานจะกระทำเมื่อมีการขอตามตารางเวลางานเท่านั้น
อย่างไรก็ตามการประมวลผลแบบชุดนี้ก็มีข้อเสียบางประการ แฟ้มข้อมูลหลักจะล้าสมัยระหว่างตารางการประมวลผล การจัดการเพื่อให้ได้ตามที่มีการขอมาก็ไม่อาจทำได้ทันทีทันใด ด้วยสาเหตุนี้ ระบบงานจำนวนมากจึงใช้ระบบการประมวลผลตามเวลาจริง
การประมวลผลตามเวลาจริง (Realtime Processing)
ในระบบการประมวลผลนั้น ประสิทธิภาพของการประมวลผลตามเวลาจริงจะทำให้เกิดข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลง ทันทีและแสดงผลให้แก่ผู้ใช้ได้ทันที ระบบที่นิยมใช้ทั่วไปเรียกว่า การประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงแบบออนไลน์ (Online Transaction Processing - OLTP) ข้อมูลจะถูกนำเข้าโดยตรงจากระบบคอมพิวเตอร์จากสถานีงานที่ทำรายการเปลี่ยน แปลง และจะเก็บรายการเปลี่ยนแปลงไว้ในแฟ้มข้อมูลที่เข้าถึงได้ออนไลน์ แฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูลจะได้รับการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันทันทีเมื่อไรก็ ตามที่ข้อมูลได้เกิดขึ้น ทำให้สามารถจะสืบค้นข้อมูลได้ทันที การประมวลผลตามเวลาจริงขึ้นอยู่กับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต และเครือข่ายอื่นๆ ที่จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงโทรคมนาคมระหว่างสถานีงานที่ทำรายการเปลี่ยนแปลง กับ แม่ข่ายและคอมพิวเตอร์อื่นๆ
กระบวนการป้องกันการล่มของระบบ (Fault Tolerant Processing)สายการบิน ธนาคาร บริษัทโทรศัพท์และหลายๆ หน่วยงาน ต้องพึ่งพาระบบป้องกันการล่มของระบบ ( Fault Tolerant Systems) เพื่อป้องกันความล้มเหลวในการใช้ระบบงานการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงแบบอ อนไลน์ เช่น ระบบการจองตั๋วของสายการบิน ระบบการโอนเงินอัตโนมัติของธนาคารและระบบงานทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้กระบวนการป้องกันการล่มของระบบ มีประสิทธิภาพในการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงแบบไม่มีหยุด (Nonstop Realtime Transaction Processing) ซึ่งทำให้การทำงานสามารถทำต่อได้แม้ว่าจะมีส่วนใดส่วนหนึ่งของแฟ้มข้อมูลจะ ใช้งานไม่ได้ก็ตาม (System Fail)
Fault Tolerant Processing อาจใช้การออกแบบ Multiprocessor โดยใช้ CPU สองตัว หรือใช้การออกแบบแบบ Parallel Processor ของหลาย Microprocessors เพื่อสร้าง Back up Failover ที่มีประสิทธิภาพ อาจมีหน่วยความจำ ดิสก์ไดร์ฟ และอุปกรณ์อื่นๆ เหมือนกับเป็นการทำซ้ำของซอฟต์แวร์ นอกจากนี้หลายๆ บริษัทยังจัดการเครือข่ายที่มีความสัมพันธ์กับอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต ในรูปแบบ Web Farms หรือ Server Farms ทำให้แหล่งประมวลผลของบริษัทขนาดใหญ่สามารถทำงานแบบบูรณาการ อันทำให้เกิดประสิทธิภาพของแต่ละแม่ข่ายที่สามารถทำการสำรองได้โดยแม่ข่าย อีกตัวหนึ่งในเครือข่าย
ข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบ
การประมวลแบบตามเวลาจริง จะทำการปรับปรุงฐานข้อมูลและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ในทันทีทันใด การประมวลผลแบบตามเวลาจริงนี้จึงเป็นประโยชน์กับระบบงานที่มีการเปลี่ยนแปลง บ่อยๆ และจะต้องทำในเวลาอันสั้นเพื่อให้ข้อมูลทันสมัย
ระบบการประมวลผลตามเวลาจริงมีข้อเสียเปรียบ เพราะว่าเป็นระบบออนไลน์ เครือข่ายการประมวลผลสามารถเข้าถึงได้โดยตรง ต้องมีการป้องกันพิเศษเพื่อป้องกันฐานข้อมูล ดังนั้น หลายระบบตามเวลาจริง (Realtime Systems) ใช้แฟ้มข้อมูลเทปแม่เหล็กเพื่อเก็บการควบคุมรายการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่ เกิดขึ้น (Control Logs) หรือเพื่อเป็นการข้อมูลสำรอง การควบคุมที่นอกเหนือไปจากนี้ได้ถูกสร้างไว้แล้วในซอฟต์แวร์และเครือข่ายจะ ทำหน้าที่ป้องกันการเข้าใช้ข้อมูลของผู้ไม่มีสิทธิ์ (Unauthorized) หรืออุบัติเหตุที่ทำให้ข้อมูลเสียหาย นอกจากนี้ จะต้องมีค่าใช้จ่ายสำหรับความปลอดภัยหรือการล่มของระบบ ดังนี้ข้อได้เปรียบหลายประการของระบบประมวลผลตามเวลาจริงจึงต้องแลกกับค่า ใช้จ่ายพิเศษและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล อย่างไรก็ตาม องค์กรที่ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อแลกกับความเร็ว ประสิทธิภาพ และบริการที่ดีกว่า
การบำรุงรักษาฐานข้อมูล (Database Maintenance)การบำรุงรักษาฐานข้อมูลเป็นงานที่สำคัญของระบบการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง ฐานข้อมูลต้องมีบำรุงรักษาเพื่อที่จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัยอยู่เสมอ ดังนั้นจึงต้องปรับปรุงฐานข้อมูลขององค์กรให้เป็นปัจจุบัน ให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจากการทำรายการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน เช่น การขายแบบให้เครดิตแก่ลูกค้าอาจทำให้เกิดยอดหนี้ของลูกค้าสูงขึ้นและจำนวน ของสินค้าคงคลังที่มีอยู่ในมือลดลง ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ จะต้องปรากฏในข้อมูลของแต่ละระเบียนที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลของบริษัท
ดังนั้น งานที่สำคัญอย่างหนึ่งของระบบการประมวลผลทางรายการเปลี่ยนแปลง คือ การปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยและบันทึกความเปลี่ยนแปลงในฐานข้อมูลของบริษัท ฐานข้อมูลเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในระบบสารสนเทศการจัดการ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร และอื่นๆ
การจัดทำเอกสารและรายงานทั่วไป (Document and Report Generation)ขั้นตอนสุดท้ายของวงจรการประมวลผล คือ การจัดทำสารสนเทศในรูปของเอกสารและรายงาน เอกสารที่จัดทำโดยระบบการประมวลผลทางรายการเปลี่ยนแปลง เรียกว่า เอกสารรายการเปลี่ยนแปลง (Transaction Documents) เช่น
  • เอกสารที่ทำให้การกระทำ (Action Document ) เอกสารนี้หมายถึงการกระทำเริ่มแรก (Initiate Actions) หรือรายการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้รับ (Recipients) เช่น ใบสั่งซื้อที่มีอำนาจในการจัดซื้อไปยังบริษัทผู้จัดหาสินค้า เช็คที่มีอำนาจให้ธนาคารทำการจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงาน
  • เอกสารสารสนเทศ ( Information Document ) เอกสารนี้เกี่ยวข้องกับยืนยัน (Confirm) หรือ การรับรอง (Prove) จากผู้รับว่ารายการเปลี่ยนแปลงนั้นได้เกิดขึ้น เช่น ใบเสร็จรับเงินจากการขาย (Sale Receipts) ใบยืนยันการสั่งซื้อ (Sales Order Confirmations) ใบส่งสินค้าแก่ลูกค้า (Customer Invoices) และสามารถใช้เป็นเอกสารในการควบคุม (Control Documents) ตั้งแต่เมื่อมีการออกเอกสารเพื่อยืนยันรายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
  • เอกสารหมุนกลับหรือเอกสารที่นำกลับมาใช้อีก (Turnaround Document ) เอกสารทางรายการเปลี่ยนแปลงบางประเภทได้ออกแบบให้อ่านได้ด้วยแถบแม่เหล็ก (Magnetic) หรือเครื่องตรวจกวาด (Optical Scanner) ที่มีการออกแบบให้กลับคืนสู่ผู้ส่งได้ เช่น คอมพิวเตอร์ได้พิมพ์ใบเสนอราคาที่มีบางใบแจ้งราคาที่สามารถส่งกลับมาพร้อม กับการจ่ายเงิน อีกทั้งสามารถประมวลผลได้โดยอัตโนมัติโดยผ่านอุปกรณ์เครื่องตรวจกวาด
ระบบการประมวลผลทางรายการเปลี่ยนแปลง ได้จัดทำรายงานหลายประเภทจากรายการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่เกิดขึ้นหรือการ ประมวลผลของงานในแต่ละช่วงเวลา โดยไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในงานบริหาร แต่รายงานดังกล่าวสามารถจัดทำการติดตามตรวจสอบและควบคุมได้ เช่น
  • รายการควบคุม (Control Listing ) เป็นรายงานรายละเอียดที่แสดงถึงแต่ละรายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละ ช่วงเวลา ที่เรียกว่า บันทึกทางรายการเปลี่ยนแปลง (Transaction Logs) เช่น รายชื่อของผู้ที่จะได้รับเงินเดือนจะลงทะเบียนไว้และรายชื่อนี้จะถูกพิมพ์ลง บนเช็คจ่ายเงินแต่ละใบด้วยระบบการจ่ายเงิน
  • รายงานแก้ไข (Edit Reports) รายงานนี้แสดงถึงความผิดพลาดที่จับได้ระหว่างการประมวลผล เช่น หมายเลขผิด ข้อมูลขาด (Missing Data) และรายการควบคุมความผิดพลาด
การประมวลผลตามที่ได้รับคำขอ (Inquiry Processing)ระบบการประมวลผลทางรายการเปลี่ยนแปลง ได้สนับสนุนการหาข้อมูลตามเวลาจริงของการใช้แฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูลออนไลน์ ผู้ใช้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของลูกข่ายและ NCs สามารถใช้อินเทอร์เน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต เว็บบราวเซอร์ หรือสามารถใช้การจัดการฐานข้อมูลด้วยภาษาการสอบถาม (Query Languages) เพื่อสร้างคำถามและได้รับคำตอบที่เกี่ยวข้องกับงานรายการเปลี่ยนแปลง โดยปกติแล้วการตอบสนอง (Responses) จะแสดงออกมาตามรูปแบบที่กำหนดไว้ล่วงหน้าหรือปรากฏบนหน้าจอภาพ