วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตลาดเงินและตลาดทุน


ตลาดแรก
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทำหน้าที่กำกับและดูแลตลาดแรก โดยบริษัทใดที่ต้องการออกหลักทรัพย์ใหม่เสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก (Initial Public Offering) หรือเสนอขายหลักทรัพย์อื่นๆ แก่ประชาชน ต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) และดำเนินการตามเกณฑ์ที่กำหนด จากนั้นคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จะต้องตรวจสอบสถานะทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัทนั้นก่อนที่จะอนุมัติให้บริษัททำการออกหลักทรัพย์ขายแก่ประชาชนได้
ตลาดรอง
หลังจากการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก หลักทรัพย์จะสามารถทำการซื้อขายในตลาดรองได้ก็ต่อเมื่อผู้ออกหลักทรัพย์นั้นได้ยื่นคำขอและได้รับอนุมัติจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว


ตลาดเงิน
SET คืออะไร

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures Contract) เป็นอนุพันธ์ที่ค่อนข้างเรียบง่าย และมีการซื้อขายกันอย่างแพร่หลายในตลาดล่วงหน้าทั่วโลก โดยมูลค่าของ Futures นั้น จะมีค่าเท่ากับราคาของทรัพย์สินอ้างอิง ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต เราสามารถแบ่งสัญญา Futures ออกเป็นกลุ่มตามสินทรัพย์ที่ใช้อ้างอิง (Underlying) และในแต่ละกลุ่มยังสามารถแบ่งได้เป็น Series ตามวันหมดอายุของสัญญา (Maturity Date) ตัวอย่างเช่น Futures น้ำมัน NYMEX ส่งมอบเดือนมีนาคม 2551 เป็นต้น มูลค่าของสัญญา Futures มักจะเคลื่อนไหวคู่ขนานไปกับราคาที่ใช้ซื้อขายสินทรัพย์ในปัจจุบัน เนื่องจากนักลงทุนทั่วไปจะใช้ราคาในปัจจุบัน ประกอบกับการคาดการณ์แนวโน้มอุปสงค์-อุปทานของสินทรัพย์นั้นๆ เป็นพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ราคา
ในการซื้อขายสัญญา Futures ใน Series หนึ่งๆ จะต้องมีผู้เสนอราคาซื้อ (Long Side) และผู้เสนอราคาขาย (Short Side) หากผู้ซื้อและผู้ขายสามารถตกลงราคาที่สองฝ่ายพอใจก็จะเกิดสัญญา Futures ขึ้น ซึ่งตราบใด ที่ผู้ซื้อ และผู้ขาย ยังมีความต้องการที่จะซื้อขาย ปริมาณการเกิดของสัญญานั้นก็สามารถมีได้ไม่จำกัดจำนวน ผิดกับตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมีจำนวนหุ้นเท่ากับที่ได้จดทะเบียนไว้ ทั้งนี้ท่านผู้อ่านจะสามารถดูจำนวนสัญญา Futures ที่เปิดอยู่ในตลาดทั้งหมด ได้จากข้อมูล สถานะคงค้าง หรือ Open Interest (OI) ครับ
ผลตอบแทนที่เกิดจากการซื้อขายสัญญา Futures นั้น จะเกิดขึ้นเมื่อราคาของสัญญา Futures เปลี่ยนแปลงไปจากราคาที่นักลงทุนเข้ามาเปิดสัญญา โดยนักลงทุนที่เข้ามาถือสถานะซื้อล่วงหน้า (Long Position) จะมีผลตอบแทนเมื่อราคา Futures ปรับตัวสูงขึ้น ในทางกลับกันนักลงทุนที่เข้ามาถือสถานะขายล่วงหน้า (Short Position) จะแสวงหาผลตอบแทนจากราคา Futures ที่ปรับตัวลดลง
ในประเทศไทย มีตลาดซื้อขายสัญญา Futures หรือ ที่เรียกกันว่าตลาดล่วงหน้าอยู่สองตลาดด้วยกัน ได้แก่
1. ตลาดอนุพันธ์แห่งประเทศไทย (TFEX) เป็นศูนย์กลางในการซื้อขาย Futures ที่อิงมูลค่าจากตัวเลขดัชนี SET50 นักลงทุนจะสามารถเข้ามาใช้ SET50 Index Futures เป็นช่องทางทำกำไรได้ตลอดเวลาไม่ว่าตลาดหุ้นจะเคลื่อนไหวอยู่ในแนวบวกหรือแนวลบ หรือจะใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงแก่หลักทรัพย์ที่ตนเองถืออยู่ก็ได้
2. ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) เป็นศูนย์กลางในการซื้อขาย Futures ที่อ้างอิงมูลค่าจากราคาสินค้าเกษตรประเภทต่างๆ ได้แก่ ยางพารา ข้าว และมันสำปะหลัง ซึ่งนอกจากนักลงทุนจะเข้ามาแสวงหาผลกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าแล้ว การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้านสินค้าเกษตรในตลาด AFET ยังเป็นเพียงช่องทางเดียวที่นักลงทุนในประเทศจะสามารถลงทุนในสินทรัพย์ Commodities ได้ โดยไม่ต้องทำธุรกิจค้าขายในสินค้านั้นๆ ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจค้าขายสินค้าเกษตรก็สามารถเข้ามาใช้ Futures เป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้านั้นๆ ได้อีกด้วย
ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) นับเป็นทางเลือกใหม่สำหรับนักลงทุนที่สนใจจะลงทุนใน Commodities ซึ่งในสัปดาห์หน้าเราจะมาพูดคุยเพิ่มเติม เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจเกี่ยวกับตลาดนี้มากยิ่งขึ้น
          Secure Electronic Transaction (SET) เป็นระบบสำหรับทำให้มั่นใจ ถึงความปลอดภัยของ ทรานแซคชันทางการเงินบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งได้รับการสนับสนุนเริ่มต้นโดย MasterCard, Visa, Microsoft, Netscape และ อื่น ๆ ด้วย SET ผู้ใช้จะได้รับ electronic wallet และทรานแซคชันที่นำ และตรวจสอบโดยการใช้ส่วนประกอบของ digital certificate และ digital signature ในระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย และ ธนาคารของผู้ซื้อ ในวิธีที่ทำให้มั่นใจว่า มีความเป็นส่วนบุคคลและมั่นใจได้ SET ใช้ Netscape Secure Socket Layer (SSL), Microsoft Secure Transaction Technology (STT) และ Terisa System Secure Hypertext Transfer Protocol (S-HTTP) SET ใช้บางส่วน แต่ไม่ใช่รูปแบบทั้งหมดของ public key infrastructure

การทำงานของ SET
สมมุติให้ลูกค้ามี browser ที่ใช้ SET ได้ เช่น Netscape หรือ Microsoft Internet Explorer และ ผู้ให้ทรานแซคชัน (ธนาคาร , ร้านค้า) มี Set-enable server
          1. ลูกค้าเปิดบัญชี MasterCard หรือ Visa
          2. ลูกค้าได้รับ digital certificate ไฟล์อีเลคโทรนิคส์ทำงานเหมือนบัตรเครดิตสำหรับการซื้อสินค้า online หรือทรานแซคชันอื่น ซึ่งจะรวม key สาธารณะซึ่งมีวันหมดอายุ และมี digital switch โดยธนาคารรับประกันการใช้งาน
          3. ผู้ขายสินค้าฝ่ายที่ 3 จะได้รับ certificate จากธนาคาร certificate มี key สาธารณะของผู้ขายสินค้าและธนาคาร
          4. ลูกค้าวางใบสั่งซื้อผ่านเว็บเพจ
          5. browser ของลูกค้า ได้รับและการยืนยันจาก certificate ของผู้ขายสินค้าว่าถูกต้องตามกฎหมาย
          6. browser ส่งสารสนเทศของใบสั่งของ ข่าวสารนี้จะ encrypt ด้วย key สาธารณะของผู้ขาย รายละเอียดการชำระเงิน จะ encrypt ด้วย key สาธารณะของธนาคาร (ผู้ขายสินค้าไม่สามารถอ่านได้) และสารสนเทศที่ประกันการจ่าย สามารถใช้เฉพาะใบสั่งซื้อนี้
          7. ผู้ขายตรวจสอบลูกค้าโดยการตรวจสอบ digital signature บน customer's certificate อาจจะทำโดยการอ้างถึง certificate ไปที่ธนาคาร หรือฝ่ายที่ 3 (third-party) ตรวจสอบเอง
          8. ผู้ขายส่งข่าวสารของใบสั่งซื้อไปที่ธนาคาร รวมถึง key สาธารณะของธนาคาร สารสนเทศการชำระเงินของลูกค้า และ certificate ของผู้ขายสินค้า
          9. ธนาคารตรวจสอบผู้ขายและข่าวสาร ธนาคารใช้ digital signature บน certificate กับข่าวสารและตรวจสอบส่วนการชำระเงิน
          10. ธนาคาร digitally sign และส่งอำนาจให้กับผู้ขายสินค้า
ตลาดตราสารหนี้ (Bond Electronic Exchange : BEX)
จัดตั้งขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเปิดให้บริการการซื้อขายแก่นักลงทุนทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2546 โดยให้บริการผ่านระบบการซื้อขายแบบเรียลไทม์ เพื่อที่จะพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในด้านปริมาณการซื้อขาย คุณภาพของตราสารหนี้ ตัวกลางการซื้อขาย และแหล่งข้อมูลอ้างอิง โดยมีเป้าหมายในการดำเนินการตลาดรองตราสารหนี้ที่สมบูรณ์แบบของประเทศไทย ให้บริการครอบคลุมผู้ลงทุนและผู้ค้าตราสารหนี้ทั้งหมด
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures Contract) เป็นอนุพันธ์ที่ค่อนข้างเรียบง่าย และมีการซื้อขายกันอย่างแพร่หลายในตลาดล่วงหน้าทั่วโลก โดยมูลค่าของ Futures นั้น จะมีค่าเท่ากับราคาของทรัพย์สินอ้างอิง ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต เราสามารถแบ่งสัญญา Futures ออกเป็นกลุ่มตามสินทรัพย์ที่ใช้อ้างอิง (Underlying) และในแต่ละกลุ่มยังสามารถแบ่งได้เป็น Series ตามวันหมดอายุของสัญญา (Maturity Date) ตัวอย่างเช่น Futures น้ำมัน NYMEX ส่งมอบเดือนมีนาคม 2551 เป็นต้น มูลค่าของสัญญา Futures มักจะเคลื่อนไหวคู่ขนานไปกับราคาที่ใช้ซื้อขายสินทรัพย์ในปัจจุบัน เนื่องจากนักลงทุนทั่วไปจะใช้ราคาในปัจจุบัน ประกอบกับการคาดการณ์แนวโน้มอุปสงค์-อุปทานของสินทรัพย์นั้นๆ เป็นพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ราคา
ในการซื้อขายสัญญา Futures ใน Series หนึ่งๆ จะต้องมีผู้เสนอราคาซื้อ (Long Side) และผู้เสนอราคาขาย (Short Side) หากผู้ซื้อและผู้ขายสามารถตกลงราคาที่สองฝ่ายพอใจก็จะเกิดสัญญา Futures ขึ้น ซึ่งตราบใด ที่ผู้ซื้อ และผู้ขาย ยังมีความต้องการที่จะซื้อขาย ปริมาณการเกิดของสัญญานั้นก็สามารถมีได้ไม่จำกัดจำนวน ผิดกับตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมีจำนวนหุ้นเท่ากับที่ได้จดทะเบียนไว้ ทั้งนี้ท่านผู้อ่านจะสามารถดูจำนวนสัญญา Futures ที่เปิดอยู่ในตลาดทั้งหมด ได้จากข้อมูล สถานะคงค้าง หรือ Open Interest (OI) ครับ
ผลตอบแทนที่เกิดจากการซื้อขายสัญญา Futures นั้น จะเกิดขึ้นเมื่อราคาของสัญญา Futures เปลี่ยนแปลงไปจากราคาที่นักลงทุนเข้ามาเปิดสัญญา โดยนักลงทุนที่เข้ามาถือสถานะซื้อล่วงหน้า (Long Position) จะมีผลตอบแทนเมื่อราคา Futures ปรับตัวสูงขึ้น ในทางกลับกันนักลงทุนที่เข้ามาถือสถานะขายล่วงหน้า (Short Position) จะแสวงหาผลตอบแทนจากราคา Futures ที่ปรับตัวลดลง
ในประเทศไทย มีตลาดซื้อขายสัญญา Futures หรือ ที่เรียกกันว่าตลาดล่วงหน้าอยู่สองตลาดด้วยกัน ได้แก่
1. ตลาดอนุพันธ์แห่งประเทศไทย (TFEX) เป็นศูนย์กลางในการซื้อขาย Futures ที่อิงมูลค่าจากตัวเลขดัชนี SET50 นักลงทุนจะสามารถเข้ามาใช้ SET50 Index Futures เป็นช่องทางทำกำไรได้ตลอดเวลาไม่ว่าตลาดหุ้นจะเคลื่อนไหวอยู่ในแนวบวกหรือแนวลบ หรือจะใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงแก่หลักทรัพย์ที่ตนเองถืออยู่ก็ได้
2. ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) เป็นศูนย์กลางในการซื้อขาย Futures ที่อ้างอิงมูลค่าจากราคาสินค้าเกษตรประเภทต่างๆ ได้แก่ ยางพารา ข้าว และมันสำปะหลัง ซึ่งนอกจากนักลงทุนจะเข้ามาแสวงหาผลกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าแล้ว การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้านสินค้าเกษตรในตลาด AFET ยังเป็นเพียงช่องทางเดียวที่นักลงทุนในประเทศจะสามารถลงทุนในสินทรัพย์ Commodities ได้ โดยไม่ต้องทำธุรกิจค้าขายในสินค้านั้นๆ ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจค้าขายสินค้าเกษตรก็สามารถเข้ามาใช้ Futures เป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้านั้นๆ ได้อีกด้วย
ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) นับเป็นทางเลือกใหม่สำหรับนักลงทุนที่สนใจจะลงทุนใน Commodities ซึ่งในสัปดาห์หน้าเราจะมาพูดคุยเพิ่มเติม เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจเกี่ยวกับตลาดนี้มากยิ่งขึ้น


ตลาดทุน (CAPITAL MARKET)
ตลาดทุน คือ ตลาดการเงินที่เป็นแหล่งกลางที่เชื่อมโยงโดยตรงระหว่างผู้ออม ซึ่งต้องการ
นำเงินกู้ยืม หรือลงทุนระยะยาว และผู้ลงทุนซึ่งแสวงหาเงินทุนระยะยาวเพื่อนำไปใช้ในการก่อตั้ง
กิจการ หรือเพื่อขยายกิจการ
ลักษณะของตลาดทุนเป็นแหล่งเงินกู้ระยะยาว คือ มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
ความสำคัญของตลาดทุน
1. เป็นแหล่งระดมเงินทุน
2. เป็นแหล่งสะสมทุน
3. ธุรกิจสามารถระดมทุนได้อย่างรวดเร็ว มีจำนวนเพียงพอกับความต้องการ
4. เป็นแหล่งระดมเงินทุนที่เสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการกู้ยืมจากแหล่งอื่น
5. เป็นประโยชน์ต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น ทรัพยากรถูกใช้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ทำให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น เกิดการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น
สภาพเศรษฐกิจดีขึ้น และป้องกันมิให้เงินออมลดค่าลงอันเนื่องมาจากเงินเฟ้อ
ประเภทของตลาดทุนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
1. ตลาดแรกหรือตลาดหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
2. ตลาดรองหรือตลาดซื้อขายหลักทรัพย์
ตลาดแรกหรือตลาดหลักทรัพย์ออกใหม่ (PRIMARY MARKET OR NEW ISSUE
MARKET)
ตลาดแรกหรือตลาดหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ คือ แหล่งกลางที่มีการเสนอขาย หรือจำหน่าย
หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ครั้งแรกแก่ประชาชน หรือนิติบุคคลทั่วไป หลักทรัพย์ที่นำออกจำหน่าย
ได้แก่ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ หรือพันธบัตร ฯลฯ
วิธีการจำหน่ายหลักทรัพย์ออกใหม่ในตลาดแรก
ก. บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์จำหน่ายหลักทรัพย์นั้นเองโดยตรง เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย
เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมที่ต้องให้แก่สถาบันการเงิน

การประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์ (UNDERWRITER)
การประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์ของสถาบันการเงินสามารถกระทำได้ 2 วิธีดังนี้
1. FIRM UNDERWRITING คือ การรับประกันว่าบริษัทผู้จำหน่ายจะรับซื้อหลักทรัพย์เอง
ถ้าหากไม่สามารถจำหน่ายได้หมด
2. BEST EFFORT UNDERWRITING คือ การสัญญาว่าจะพยายามจำหน่ายหลักทรัพย์ให้
ได้มากที่สุด แต่ไม่รับประกันการขายให้ทั้งหมด กล่าวคือ ถ้าจำหน่ายไม่หมดสถาบันการเงินที่ทำ
หน้าที่เป็นผู้ประกันการจำหน่ายจะไม่รับซื้อหลักทรัพย์ในส่วนที่จำหน่ายไม่หมดนั้น บริษัทผู้ออก
หลักทรัพย์จะต้องรับหลักทรัพย์ที่เหลือนั้นกลับคืนไป
ตลาดรองหรือตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ (SECONDARY MARKET OR TRADING
MARKET)
ตลาดรองหรือตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ คือแหล่งกลางในการติดต่อซื้อขายหลักทรัพย์ที่เคย
ผ่านการซื้อขายในตลาดแรกมาแล้ว การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดรองเป็นเพียงการโอนเปลี่ยนมือ
ผู้ถือหุ้นเท่านั้น ตลาดรองไม่ได้ทำหน้าที่ระดมเงินทุนจากประชาชน แต่ทำหน้าที่สนับสนุนการ
ระดมเงินออมจากตลาดแรก และสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ที่ซื้อหลักทรัพย์ในตลาดแรกว่าเขา
สามารถขายหลักทรัพย์นั้นได้เมื่อต้องการเงินสด หรือเมื่อต้องการได้กำไรจากการขายหุ้น แม้ว่า
ตลาดรองจะไม่ได้มีลักษณะเป็นแหล่งเงินทุนโดยตรงของธุรกิจเช่นเดียวกับตลาดแรก แต่ก็มี
ความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะตลาดรองช่วยให้เงินทุนหมุนเวียนได้สะดวก และช่วยกระตุ้นให้ตลาด
แรกเจริญเติบโตขึ้นด้วย

LTF ย่อมาจาก Long Term Equity Fund หรือ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว เป็นกองทุนรวมแบบพิเศษที่ให้สิทธิผู้ลงทุนนำเงินลงทุนในแต่ละปีมาใช้ลดหย่อนภาษีได้
LTF มีที่มาจากแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ที่มีเป้าหมายเพิ่มจำนวนผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ เพราะเชื่อว่าหากต้องการให้ตลาดหุ้นของไทยมีเสถียรภาพมากขึ้นจำเป็นต้องมีสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบันในประเทศที่มีคุณภาพ (ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่ากองทุนรวม) มากกว่าปัจจุบัน จึงจะทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยไม่ผันผวนตามแรงซื้อขายของนักลงทุนต่างประเทศและนักลงทุนรายย่อยมากจนเกินไป และทำให้เกิดเสถียรภาพในระบบตลาดทุนไทยในที่สุด
ด้วยเหตุนี้มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2547 จึงกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมหุ้นระยะยาวขึ้น โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุนเพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนในกองทุน LTF
สิทธิประโยชน์ทางภาษีของผู้ลงทุน
เงินลงทุนใน LTF สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15%ของรายได้ในแต่ละปีแต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ซื้อปีไหนก็ใช้ลดหย่อนภาษีของปีนั้น ส่วนจะประหยัดภาษีได้เท่าไร ก็ขึ้นกับฐานภาษีของแต่ละคน ยิ่งฐานภาษีสูงมากก็ยิ่งประหยัดได้มาก
 ETF
 ETF เป็นกองทุนรวมเปิดที่จดทะเบียนซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนจึงสามารถซื้อขาย ETF ผ่านโบรกเกอร์ ณ ราคาตลาดระหว่างวันและกำหนดราคาที่ต้องการซื้อขายเหมือนการซื้อขายหุ้นทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์ โดยผู้ลงทุนสามารถติดตามข้อมูลราคาตลาดของ ETF ซึ่งมักมีค่าใกล้เคียงกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยของ ETF ณ ขณะนั้น หรือที่นิยมเรียกกันว่า Indicative NAV (i-NAV) หรือ Real-time NAV ซึ่งมีการคำนวณตลอดช่วงเวลาซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ ในขณะที่การซื้อขายกองทุนรวมทั่วไป ผู้ลงทุนต้องซื้อขายผ่าน บลจ. ผู้ออกเท่านั้น โดยซื้อขายที่ราคา ณ สิ้นวันเพียงราคาเดียว และค่า NAV ก็มีการคำนวณเพียงวันละครั้ง ณ สิ้นวันเช่นกัน นอกจากนี้ ETF ยังพิเศษกว่ากองทุนรวมทั่วไปตรงที่มีผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) ทำหน้าที่ดูแลราคาและสภาพคล่องของ ETF ในตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้นักลงทุนมั่นใจได้ว่าสามารถซื้อขาย ETF ได้ตลอดเวลาที่ต้องการ ณ ราคาตลาดในขณะนั้น
ETF ส่วนใหญ่มีนโยบายการบริหารจัดการการลงทุนในเชิงรับ (Passive Management) เพื่อให้ได้ผลตอบแทนเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับดัชนีหรือราคาของสินทรัพย์ที่กองทุนใช้อ้างอิง ไม่ได้เป็นการบริหารจัดการเพื่อเอาชนะตลาดเหมือนกองทุนรวมทั่วไปส่วนใหญ่ จึงทำให้ ETF มีค่าใช้จ่ายตลอดจนค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการที่ต่ำกว่ากองทุนรวมทั่วไป โดย ETF สามารถอ้างอิงได้กับสินทรัพย์หลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นดัชนีราคาหลักทรัพย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดัชนีราคาตราสารหนี้ หรือดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์ หรือราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ น้ำมัน เป็นต้น
ETF ได้รับความนิยมในตลาดต่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีสภาพคล่องจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และการลงทุนใน ETF ที่อ้างอิงในสินทรัพย์ที่เป็นดัชนีราคาหลักทรัพย์ก็เสมือนการลงทุนในหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของการคำนวณดัชนีทั้งหมด ทำให้ช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุน ขณะเดียวกันก็ยังให้ผลตอบแทนในรูปเงินปันผล ( Dividend) และส่วนต่างราคา ( Capital Gain) แก่ผู้ถือ ETF นั้น จากการรวมจุดเด่นของกองทุนรวมและหุ้นไว้ด้วยกันนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จึงผลักดัน   ETF  กองแรกให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ในปี 2550 โดยมีดัชนีราคาหุ้น SET50 เป็นสินทรัพย์อ้างอิงของ ETF
ประโยชน์ของ ETF ต่อผู้ลงทุน
กระจายการลงทุนโดยใช้เงินน้อย
การลงทุนใน ETF ทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนเหมือนกับการเข้าไปซื้อหลักทรัพย์หรือสินค้าทั้งหมดที่กองทุน ETF ไปลงทุนไว้ ผู้ลงทุนเพียงทำรายการซื้อหน่วยลงทุน ETF เท่านั้น ไม่ต้องทำรายการซื้อหลักทรัพย์หรือสินค้าทั้งหมดที่ต้องการลงทุน ซึ่งในกรณีหลังต้องใช้เงินมากกว่าและมีค่าใช้จ่ายโดยรวมสูงกว่าการซื้อหน่วยลงทุน ETF
ซื้อขายเปลี่ยนมือได้สะดวก
จุดเด่นสำคัญของกองทุน ETF ที่แตกต่างจากกองทุนเปิดโดยทั่วไป คือ ผู้ลงทุนทั่วไปสามารถซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งทำให้ผู้ลงทุนสามารถซื้อขายหน่วยลงทุนในราคาที่ต้องการ อาทิ ราคาของ ETF ที่อ้างอิงกับดัชนีราคาหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนสามารถคำนวณได้จากราคาของแต่ละหลักทรัพย์ที่ ETF ถือครองอยู่สำหรับระยะเวลาในการซื้อขาย ETF ก็เป็นช่วงเวลาเปิดทำการของตลาดหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนไม่จำเป็นต้องรอ NAV ต่อหน่วย ณ สิ้นวันเหมือนกับการซื้อขายกองทุนเปิดที่ไม่ใช่หลักทรัพย์จดทะเบียน
นอกจากนี้ บริษัทจัดการต้องจัดให้มีผู้ดูแลสภาพคล่องของ ETF ซึ่งจะทำหน้าที่เสนอซื้อเสนอขายหน่วยลงทุนของ ETF ในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้น จึงเป็นกลไกที่ช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถทำรายการซื้อขาย ETF ในตลาดหลักทรัพย์ได้เมื่อต้องการ
โปร่งใส
บริษัทจัดการจะเปิดเผยรายละเอียดของการถือครองสินทรัพย์ของ ETF เป็นประจำทุกวัน จึงช่วยให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลการลงทุนของ ETF อย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ลงทุนตรวจสอบการลงทุนว่าเป็นตามนโยบายที่กำหนดไว้หรือไม่แล้ว ยังใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดราคาซื้อขายหน่วยลงทุน ETF ได้
ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนใน ETF 
เนื่องจาก ETF จะลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนตามดัชนีอ้างอิง ดังนั้น การลงทุนใน ETF จึงมีความเสี่ยงในกรณีที่ราคาของสินทรัพย์ที่ ETF ไปลงทุนนั้นมีการเปลี่ยนแปลง แล้วส่งผลให้ ETF มีผลตอบแทนเปลี่ยนแปลงตามสินทรัพย์ที่อ้างอิง
ความเสี่ยงอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การที่ ETF อาจไม่สามารถให้ผลตอบแทนได้เท่ากับการเคลื่อนไหว ของดัชนีอ้างอิง หรือเรียกว่า มี Tracking Error ซึ่งเกิดขึ้นได้จากปัจจัยต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่ายของกองทุน สภาพคล่องในการซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิง เป็นต้น
ขั้นตอนการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์